ความเข้าใจในการจัดเก็บสถิติ ข้อมูลการจัดทำบันทึกรายละเอียดและรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ตามแบบ ทส.1 และ แบบ ทส.2

ปิยะชัย  จันทรวงศ์ไพศาล

[email protected], [email protected]

ตาม ที่กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการจัดเก็บสถิติ ข้อมูล การ จัดทำบันทึกรายละเอียดและรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.. 2555 ซึ่งออกตามความ ในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2535 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 พค 2555 ที่กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษหรือผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียตามมาตรา 69 และมาตรา 70 ต้องเก็บสถิติและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละวัน และจัดทำบันทึกรายละเอียดดังกล่าวตามแบบ ทส. 1 เก็บ ไว้ ณ สถานที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่มีการเก็บ สถิติและข้อมูลนั้น รวมถึงต้องจัดทำรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละเดือนตามแบบ ทส. 2 และเสนอรายงานดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไปด้วยนั้น

 ผู้เขียนขออธิบายเพิ่มเติมเพื่อทวนสอบความเข้าในในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวดังต่อไปนี้

1.    ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าแหล่งกำเนิดใดบ้างที่ต้องอยู่ในข่ายตามกฎหมาย ซึ่งพบว่าแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำที่ต้องถูกควบคุมตามกฎหมายมี 10 ประเภท ได้แก่ 1)โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม (เช่น โรงงานอุตสาหกรรมจำพวกที่ 2 และ จำพวกที่ 3), 2)อาคารบางประเภทและบางขนาด, 3) ที่ดินจัดสรรบางประเภท, 4) การเลี้ยงสุกรบางประเภท, 5) ท่าเทียบเรือประมง สะพานปลาและกิจการแพปลา, 6) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภท, 7) บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, 8) บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย, 9) บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และ 10) ระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชน

2.    แน่นอนที่สุด บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลายส่วนใหญ่เป็นจำพวกที่ 3 ซึ่งจะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ แต่ต้องพิจารณาต่อไปว่าเป็นโรงงานที่ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียเป็นของตนเอง หรือไม่ ถ้าเป็นโรงงานที่มีมลพิษสูงตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม  เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2550 หรือ มีเงื่อนไขแนบท้ายประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ที่ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย หรือ มีระบบบำบัดน้ำเสียเป็นของตนเอง กรณีหนึ่งกรณีใด ย่อมเข้าข่ายในกฎกระทรวงฉบับนี้

3.    ถ้าเป็นโรงงานที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตประกอบการอุตสาหกรรม จะต้องพิจารณาต่อไปว่าส่งน้ำเสียทั้งหมดไปที่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางหรือ ไม่ ถ้าเป็นโรงงานที่ส่งน้ำเสียทั้งหมดไปสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง จะไม่เข้าข่ายกฎกระทรวงฉบับนี้  แต่ถ้าเป็นโรงงานที่มีระบบบำบัดน้ำเสียเป็นของตนเองและส่งน้ำเสียบางส่วนหรือทั้งหมดสู่ภายนอก ย่อมเข้าข่ายกฎกระทรวงฉบับนี้

4.      เมื่อเราเข้าใจว่าโรงงานใดเข้าข่ายกฎกระทรวงฉบับนี้ ต้องจัดเก็บข้อมูลและจัดทำสถิติตามแบบ ทส.1 (ทำแบบครั้งแรก เริ่มตั้งแต่เดือน สค.55) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

-        ควรแสดงแผนผังการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย

-        ระบุวันที่ เดือนและพ.ศ.ที่บันทึกข้อมูลทุกวัน

-        จัดเก็บสถิติข้อมูลจำนวนหน่วยไฟฟ้า ตามมิเตอร์วัดปริมาณไฟฟ้าสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะเป็นประจำทุกวัน

-        บันทึกปริมาณการใช้สารเคมีหรือสารสกัดชีวภาพในแต่ละวัน (ควรมี MSDS ติดไว้ ณ สถานที่ปฏิบัติงาน)

-        บันทึกการตรวจสอบสภาพการทำงานระบบบำบัดน้ำเสีย

-        บันทึกปริมาณตะกอนส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากระบบบำบัดน้ำเสียที่นำไปกำจัด

5.      ผู้ เขียนแนะนำให้ผู้ประกอบการติดตั้งมาตรวัดปริมาณไฟฟ้าประจำระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะ เนื่องจากตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ข้อ 15 กำหนดว่า ในกรณีที่มีระบบบำบัดน้ำเสีย ผู้ประกอบกิจการต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ต้อง ติดตั้งมาตรวัดปริมาณไฟฟ้าสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะไว้ในที่ง่ายต่อ การตรวจสอบและต้องมีการจดบันทึกเลขหน่วยและปริมาณการใช้ไฟฟ้าประจำวันด้วย ….”

6.      อนึ่ง แม้ว่ากฎกระทรวงจะผ่อนปรนให้ใช้แบบบันทึกตามกฎหมายฉบับอื่นๆได้ แต่ผู้เขียนแนะนำให้ใช้แบบบันทึก ทส.1 ซึ่งน่าจะมีรายละเอียดมากกว่าแบบรายงานอื่นๆครับ หลังจากนั้นก็จัดทำรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละเดือนตามแบบ ทส. 2 (ทำแบบครั้งแรกเดือนกันยายน 2555) และ เสนอรายงานดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป โดยยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่แหล่งกำเนิดมลพิษนั้นตั้งอยู่ หรือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ….ไม่ต้องยื่นแบบ ทส.2 ไปที่กรมควบคุมมลพิษนะครับ ให้รอจนกว่าจะสามารถยื่นแบบทางอิเล็คทรอนิส์ได้ ค่อยมาว่ากันใหม่

7.      ผู้เขียนแนะนำว่า  ควรไปยื่นแบบ ทส.2 ที่อบต. หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ สถานที่ประกอบการตั้งอยู่โดยตรง และไม่ต้องตกใจหรือแปลกใจใดๆทั้งสิ้น หากเจ้าหน้าที่จะบอกว่าส่งมาทำไม เพราะเท่าที่ผู้เขียน audit ผู้ประกอบการหลายแห่ง ณ หลายพื้นที่ รับทราบว่าเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งไม่รับทราบกฎกระทรวงฉบับนี้ครับ

8.      เมื่อยื่นแบบ ทส.2 ที่อบต. หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ สถานที่ประกอบการตั้งอยู่แล้ว ให้รอรับใบตอบรับเอกสาร หรือให้เจ้าหน้าที่ประทับรับหนังสือแบบ ทส.2 เก็บ ไว้เป็นหลักฐาน เพราะตามกฎกระทรวงระบุให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับเพื่อเป็นหลักฐานให้ แก่ผู้เสนอรายงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน

9.     กรณีที่โรงงานว่าจ้างผู้รับเหมาเดินระบบบำบัดน้ำเสียนั้น ผู้รับเหมาไม่สามารถลงนามในแบบทส.1 และแบบทส.2 ได้นะครับ เพราะกฎกระทรวงว่าด้วยผู้รับจ้างให้บริการและผู้ควบคุมระบบบําบัดน้ำเสีย ตามมาตรา 73 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ยังไม่ถูกประกาศบังคับใช้ ภาระหน้าที่ในการลงนามแบบทส.1 และแบบทส.2 เป็นของผู้ประกอบการ

10.  บทลงโทษตามพรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

-        มาตรา 104 เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 80 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-        มาตรา 106  เจ้า ของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ผู้ควบคุมหรือผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียผู้ใดไม่จัด เก็บสถิติ ข้อมูล หรือไม่ทำบันทึกหรือรายงานตามมาตรา 80 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-        มาตรา 107  ผู้ ควบคุมหรือผู้รับจ้างให้บริการผู้ใดทำบันทึกหรือรายงานใดที่ตนมีหน้าที่ต้อง ทำตามพระราชบัญญัตินี้ โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

*****End of Article*****

 

ผู้ชม 16,030 วันที่ 09 พฤศจิกายน 2555