ภาคีเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ CSR ในประเทศไทย (CSR Networking in Thailand)
ผู้อ่านหลายท่านสอบถามว่า มีองค์กรใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับ CSR ซึ่ง โดยทั่วไป เรารับทราบว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรม ออกมาตรฐาน CSR-DIW มาให้ใช้เป็นแนวทางการจัดทำ CSR จึงคิดว่า มีเพียงหน่วยงานราชการเดียวเท่านั้น ที่เกี่ยวข้องกับ CSR แต่ข้อเท็จจริงแล้ว ไม่ใช่ครับ มีหน่วยงานต่างๆอีกมากมาย ทั้งองค์กรภาครัฐ, องค์กรภาคเอกชน, NGO อีกหลายหน่วยงาน
ดังนั้น ผู้เขียนจึงนำรายชื่อภาคีเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ CSR ในประเทศไทย อาทิเช่น
นอกจากภารกิจหลักของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ทำหน้าที่เป็นตลาดรองในการซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ และเป็นแหล่งระดมทุนระยะยาวของภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนที่จะช่วยเหลือ
และร่วมมือกับองค์กรหน่วยงาน ทุกภาคส่วนของประเทศในการพัฒนาสังคมไทย โดยได้กำหนดไว้ในภารกิจหลักขององค์กรในการเป็นต้นแบบของการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมส่วนรวมแก่หน่วยงานต่างๆ ในตลาดทุน อาทิเช่น การก่อตั้งมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขึ้นในปี 2549 เพื่อดำเนิน
กิจกรรมในการพัฒนา สังคมไทยและชุมชนใหม่คุณภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งในด้านการศึกษา กีฬา ดนตรี ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยเห็นว่า CSR เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตที่มีส่วนสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาคธุรกิจ รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมทั้งเห็นว่าสังคมไทย ยังต้องการการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งพลังจากภาคธุรกิจ เป็นพลังสำคัญที่จะป้องกันปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมถึงทำหน้าที่เป็นแกนกลาง เชื่อมโยงพลังของภาคธุรกิจ เพื่อช่วยเหลือสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และสภาพสังคมของไทยให้เติบโตเคียงคู่ไปกับการพัฒนาประเทศต่อไป
นับแต่วิกฤตการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องต่อความเสียหายในตลาดทุน ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูตลาดทุนไทย จึงมีนโยบายให้จัดการประชุมเพื่อจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาตลาดทุนขึ้น ซึ่งการ
ประชุมในครั้งนั้นผู้แทนจากภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ได้ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์หลายประการ โดยมาตรการสำคัญที่ที่ประชุมให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ การสร้างบรรษัทภิบาลในตลาดทุน ทั้งในด้านบริษัทจดทะเบียนและสถาบันตัวกลาง และรวมไปถึงองค์กรกำกับดูแลด้วย ซึ่งจากผลการประชุมในครั้งนั้น รัฐบาลได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ปี 2545 เป็นปีเริ่มต้นแห่งการรณรงค์การมีบรรษัทภิบาลที่ดี
นอกจากนี้คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งเเวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน และคณะกรรมการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ยังได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ เรื่อง เข็มทิศธุรกิจเพิ่อสังคม : คู่มือช่วยบอกพิกัดการดำเนินงานที่มีเป้าหมายด้านธุรกิจควบคู่ความรับผิดชอบต่อสังคม ขึ้นมาอีกด้วย (สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์)
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 หมวด 6 มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต การสร้างความเข้มแข็งสถาบันครอบครัวและชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต มีบริการสวัสดิการและการคุ้มครองอย่างทั่วถึง เป็นธรรมและเสมอภาค สามารถช่วยเหลือและพัฒนาตนเอง ครอบครัวและชุมชน
ทั้งนี้ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility Promotion Center : CSR) เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยประสานงานการให้เพื่อสังคม (Philanthropy)
ของมูลนิธิกองทุนไทย และแนวทางจิตอาสาพนักงาน (Volunteer) ของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (The NETWORK ประเทศไทย) และเข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม (คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนของกลต.) เพื่อสร้างความเข้าใจและเพิ่มทักษะการปฏิบัติ โดยยังจะสร้างความรู้ความเข้าใจให้เป็นที่แพร่หลายมากกว่าการรู้จักแต่ในองค์กรขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯแต่เพียงอย่างเดียว
The NETWORK เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของ ADB GSK และ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้เรื่องการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมให้เกิดการผสานความสามารถของทั้งสองภาคีในรูปแบบการเสริม แรงร่วมกัน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในแต่หน่วยย่อย สำหรับ เดอะเนทเวิร์ค (ประเทศไทย) เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ทะเบียนเลขที่ 1853 โดยการรับรองของคณะกรรมการการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ความรู้ ความสามารถของแต่ละภาคีเชื่อมประสานกันเป็นเครือข่ายกัลยาณมิตรในรูปแบบต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
ศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาล โครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล เกิดจากการที่เห็นปัญหาของประเทศไทย ที่มีหลักการคิดและหลักการวิเคราะห์ที่เป็นแบบดั้งเดิม ประเทศไทยต้องการปรัชญาใหม่ และต้องการวิธีการคิดแบบใหม่เพื่อที่จะเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ทั้งในภาคราชการและภาคธุรกิจเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมจึงได้เพิ่มหลักสูตรนี้เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบุคคลากรเหล่านั้น นอกจากนี้หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาธรรมาภิบาล นำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวพระราชบัญญัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องขาดทุนคือกำไร มาเป็นแนวทางในการทำงานของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาธรรมาภิบาล
มูลนิธิกองทุนไทยได้จัดฝ่ายส่งเสริมการให้เพื่อสังคม ได้จัดตั้ง โครงการให้เพื่อสังคม โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Give 2 call โดยได้นิยามการให้ว่า เป็นการแบ่งปันน้ำใจ แบ่งปันความเอื้ออาทร การให้ที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่เงินและวัตถุสิ่งของ เป็นการกระตุ้น ส่งเสริมให้ การให้ เป็นคุณธรรมพื้นฐานของสังคมไทย เพื่อนำไปสู่สังคมสงบสุข ร่มเย็น (มูลนิธิกองทุนไทย,www.tff.or.th) ในขณะเดียวกันจะดำเนินงานควบคู่ไปกับงานของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม (The NETWORK ประเทศไทย) ได้ริเริ่มโครงการจิตอาสาพนักงาน เป็นโครงการรณรงค์สร้างจิตสำนึกการเสียสละการทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยเริ่มต้นภายในองค์กรขององค์กรทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน (www.tff.or.th)
ทั้งสองเรื่องข้างต้นเป็นเรื่องที่อธิบายหรือสามารถดำเนินการควบคู่กันไป โดยเรื่องของการให้เพื่อสังคม นำเอาแนวความคิดมาจาก การบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy) ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยความเอื้อเฟื้อขององค์กรธุรกิจโดยเจ้าของหรืผู้ถือหุ้น ด้วยการบริจาคเงิน สิ่งของหรือสินค้าให้กับสังคมหรือผู้ด้อยโอกาส ในขณะที่ จิตอาสาพนักงาน (Volunteer) เป็นวิธีการที่สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการให้และการแบ่งปันทรัพยากรต่างๆ ทั้งในรูปของเวลา ความรู้ สิ่งของ หรือสินค้าร่วมกัน ระหว่างนายจ้าง ผู้บริหารและลูกจ้าง แก่ชุมชนที่อยู่รอบบริเวณบริษัทและสังคมวงกว้าง อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน และการสร้างสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอีกทางหนึ่ง ก่อให้เกิดทั้งประโยชน์องค์กรธุรกิจและสังคมไปพร้อมๆกัน
สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย www.thaipat.blogspot.com
สถาบันไทยพัฒน์ เป็นองค์กรที่ไม่มีวัตถุประสงค์หากำไร ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 9 กันยายน 2542 ในรูปแบบของชมรม และได้แปลงสภาพเป็นสถาบันเมื่อ 18 กรกฎาคม 2544 เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและบรรษัทบริบาล (CSR) ในรูปแบบต่างๆ เช่น การวิจัย การให้คำปรึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงาน และได้เป็นภาคีองค์กรของมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สถาบันคีนันเอเซีย (Kenan Institue Asia) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยมีปณิธานที่มุ่งมั่นที่จะสร้างขีดความสามารถที่แข็งแกร่งและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะในแถบลุ่มน้ำโขง สถาบันได้กำหนดกรอบวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินงานในระยะ 5 ปี (2551-2555) ไว้ 7 ประการ โดยมีหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ด้าน CSR เช่น ส่งเสริมการบริหารจัดการทางธุรกิจที่ดีขึ้นของภาคเอกชนตามหลักธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และการยกระดับความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน, สนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยส่งเสริมการเข้ามามีบทบาทร่วมของรัฐวิสาหกิจและเอกชน เป็นต้น
ผู้ชม
4,754 วันที่
22 สิงหาคม 2553