รายละเอียดเว็บบอร์ด

หัวข้อ -> สอบถามเกี่ยวกับน้ำดื่ม
 
ในการทำน้ำดื่มให้กับพนักงานในโรงงานนั้นมีกฎหมายหรือข้อกำหนดในเรื่องนี้อย่างไร
 
ผู้ตั้ง : สมเกียรติ วงศ์ไพบูลย์ วันที่ : 15 ม.ค. 54 16:21:31 น. ผู้ชม : 15,064
 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น : กรอกความคิดเห็นค่ะ
ชื่อผู้ตั้ง : กรอกชื่อผู้ตั้งค่ะ
กรอกรหัสป้องกัน
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 8
สอบถามเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มในโรงงาน กรณีที่เราต้องการทราบความถี่ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่ม ไม่ทราบว่าต้องดูจากกฎหมายตัวไหนคะ ขอบคุณค่ะ
 
ผู้ตั้ง : duty วันที่ : 30 พ.ค. 60 16:16:15 น.
 
ความคิดเห็นที่ 7
ขอบคุณมากครับ
 
ผู้ตั้ง : tawat วันที่ : 01 ก.ย. 54 11:48:46 น.
 
ความคิดเห็นที่ 6
การตรวจสอบเชื้อแบคทีเรียโคลิฟอร์มจากเครื่องกรองน้ำนั้นในความเห็นของผม ควรตรวจตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่๓๔๗๐ ครับ
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 21 ก.พ. 54 11:34:44 น.
 
ความคิดเห็นที่ 5
การตรวจสอบแบคทีเรียโคลิฟอร์มในน้ำดื่มจากเครื่องกรองน้ำใช่มาตรฐานอะไรในการดูว่าได้มาตรฐานหรือไม่ (ขอบคุณสำหรับคำตอบ)
 
ผู้ตั้ง : kaw วันที่ : 15 ก.พ. 54 11:22:02 น.
 
ความคิดเห็นที่ 4
4. ปัญหาที่ตามมาคือ จะตรวจให้ครบทั้งหมด 29-30 รายการนั้นคงมีค่าใช้จ่ายมาก ผมจึงแนะนำว่า ให้ดูแหล่งน้ำก่อนครับว่ามีคุณภาพน้ำเป็นอย่างไร เช่น ถ้าน้ำนั้นมีแร่เหล็กมาก ควรตรวจเหล็ก เพิ่ม หรือใกล้กับแหล่งน้ำที่มีตะกั่ว ควรตรวจตะกั่วเพิ่มเป็นต้น โดยทั่วไปจะตรวจค่า pH, ความขุ่น, ความกระด้าง, ฟลูออไรด์, แบคทีเรียประเภทโคลิฟอร์ม , อี.โคไลหรือเทอร์โมโธเลอแรนท์โคลิฟอร์มแบคทีเรีย เป็นต้น ส่วนความถี่ในการตรวจนั้น แนะนำให้ตรวจ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง (อ้างอิงน้ำบริโภคที่ไม่บรรจุภาชนะที่ปิดสนิท) ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๓๔๗๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ครับ
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 16 ม.ค. 54 10:04:34 น.
 
ความคิดเห็นที่ 3
3. หลังจากนั้นจึงมาพิจารณาว่า ถ้าเราจะซื้อน้ำจากภายนอกมาบริโภค ก็ต้องมีมาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๓๔๗๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙) กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำบริโภค วิธีที่ง่ายที่สุดในการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่ม คือใบรับรองจากผู้ผลิตน้ำดื่ม (COA) ถ้าเราซื้อจากบริษัทใหญ่ๆจะมีใบรับรองให้ครับ แต่ถ้าไม่ได้ เราอาจจะต้องตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเอง ปัญหาคือจะตรวจตามเกณฑ์มาตรฐานตัวไหน ซึ่งจะมีกฎหมาย 3 ฉบับเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 332 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องกำหนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 68 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2521 (ตรวจพารามิเตอร์ รวม 30 รายการ) / ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2524) เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 157 (ฉบับพิเศษ) ลงวันที่ 24 กันยายน 2524 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2534) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ตีพิมพ์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 61 ลงวันที่ 2 เมษายน 2534 (ตรวจพารามิเตอร์ รวม 29 รายการ) / ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในทางวิชาการสำหรับการป้องกัน ด้านสาธารณสุขและการป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2551 ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 85 ง ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 (ตรวจพารามิเตอร์ รวม 23 รายการ) กฎหมายฉบับนี้ใช้เฉพาะเราใช้นำบาดาลมาบริโภค
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 16 ม.ค. 54 10:03:53 น.
 
ความคิดเห็นที่ 2
2. ดังนั้น เมื่อนายจ้างต้องจัดหาน้ำดื่มก็ต้องมาพิจารณาว่าเราจะซื้อน้ำดื่ม หรือ ผลิตน้ำดื่มเพื่อใช้ภายในโรงงานเอง แต่ถ้าเราจะซื้อน้ำดื่มจากภายนอก จะมีกฎหมายหลายฉบับเข้าเกี่ยวข้อง คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๖๑ (พ.ศ. ๒๕๒๔) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท / ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๓๕ (พ.ศ. ๒๕๓๔) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ ๒) / ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๔ เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ ๓) / ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒๕๖) พ.ศ. ๒๕๔๕ เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ ๔) / ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒๘๔) พ.ศ. ๒๕๔๗ เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ ๕) / ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ ๖) / ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๓๔๗๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑ เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำบริโภค เล่ม ๑ ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพ และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำบริโภค / ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๓๓๔ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑ เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค เล่ม ๒ การวิเคราะห์และทดสอบ
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 16 ม.ค. 54 10:03:12 น.
 
ความคิดเห็นที่ 1
1. ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่ากฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดน้ำดื่มภายในโรงงานนั้น แต่เดิมเราจะใช้กฎหมาย “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับลูกจ้าง โดยในประกาศฉบับนี้ได้กำหนดรายละเอียดและรูปแบบของสวัสดิการแรงงานที่สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำ และห้องส้วมอันถูกต้องตามสุขลักษณะและมีปริมาณเพียงพอแก่ลูกจ้าง” แต่กฎหมายฉบับนี้ ถูกยกเลิกด้วยกฎหมายตัวใหม่คือ กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 โดยจะมีผลบังคับใช้ วันที่ 25 กันยายน 2548 เป็นต้นไป กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินภารกิจ 1 ใน 3 ประการ ดังนี้ “ข้อ 1 ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มี น้ำสะอาดสำหรับดื่มไม่น้อยกว่าหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างไม่เกินสี่สิบคน และเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างทุกๆ สี่สิบคน เศษของสี่สิบคนถ้าเกินยี่สิบคนให้ถือเป็นสี่สิบคน”
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 16 ม.ค. 54 10:02:21 น.