หลักเกณฑ์การประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายใหม่
จากการที่ผู้เขียนตรวจประเมินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2004 ซึ่งผู้ประกอบกิจการที่มีการครอบครองน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันหล่อเย็นหรือน้ำมันหล่อลื่นหรือตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอน จำนวนมากๆ มักจะพบว่าไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่ว่าด้วยการใช้หรือการมีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครอง ผู้ประกอบกิจการหลายแห่งมักจะคิดว่าน้ำมันหล่อเย็นหรือน้ำมันหล่อลื่นหรือตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนที่ใช้ในกระบวนการผลิต เป็นวัตถุดิบ จึงไม่น่าจะเข้าข่ายกฎหมายดังกล่าวและไม่นำกฎหมายนั้นขึ้นทะเบียนกฎหมายและไม่ประเมินความสอดคล้องด้วย แต่เมื่อใดก็ตามที่องค์กรนำน้ำมันดังกล่าวมาใช้เป็นส่วนผสมของเชื้อเพลิง หรือเพื่อการหล่อลื่นย่อมถือว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้เขียน ยังคงมีประเด็นคำถามไปยังเจ้าหน้าที่รัฐของกรมธุรกิจพลังงาน ว่าน้ำมันหล่อเย็น (Metalworking Fluid) โดยเฉพาะ cutting oil ซึ่งมีคุณสมบัติใช้เพื่อการหล่อลื่นและลดความร้อนจากการเสียดสี ถือเป็นน้ำมันที่อยู่ในข่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือไม่ เพราะหากท่านมองคุณสมบัติหลักที่ช่วยลดความร้อนจากการเสียดสีของโลหะ อาจจะไม่เข้าข่าย แต่คุณสมบัติอีกประการหนึ่ง ย่อมเป็นน้ำมันหล่อลื่นชิ้นงงานโลหะด้วยเช่นกัน ดังนั้นความรู้ความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กร (Applicable legal requirement) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องตระหนักอยู่เสมอ การกล่าวอ้างว่าไม่ทราบไม่รู้ไม่เข้าใจ จึงไม่ปฏิบัติตาม ไม่สามารถนำมาหักล้าง NCR (Non Conformity Report) จากผู้ตรวจประเมินที่พบประเด็นความไม่สอดคล้องดังกล่าวได้
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงขอนำความหลักเกณฑ์การประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง จากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน (http://www.doeb.go.th/knowledge/new_oil_law.htm) มาอ้างอิงเผยแพร่เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาดังต่อไปนี้
คำนิยามที่เกี่ยวข้อง
“น้ำมันเชื้อเพลิง” หมายความว่า น้ำมันปิโตรเลียมดิบ น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น และให้หมายความรวมถึงผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมอื่นที่เป็นของเหลวและใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
“การมีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครอง” หมายความว่า การมีไว้ในครอบครองไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น และไม่ว่าจะเป็นกรณีมีไว้เพื่อจำหน่าย เพื่อขนส่ง เพื่อใช้หรือเพื่อประการอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการทิ้งหรือปรากฏในบริเวณ ที่อยู่ในความครอบครองด้วย
“สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง” หมาย ความว่า สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ ยานพาหนะ และให้หมายความรวมถึงบริเวณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้เป็นเขตสถานีบริการ น้ำมันเชื้อเพลิงตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ถัง ท่อ และอุปกรณ์ หรือ
เครื่องมือต่าง ๆ ในบริเวณนั้น
“การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง” หมายความว่า การเคลื่อนย้ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง ไม่ว่าโดยทางบก ทางน้ำ ทางท่อ หรือโดยวิธีการอื่นใด
“คลังน้ำมันเชื้อเพลิง” หมาย ความว่า สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตามปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้หมายความรวมถึงบริเวณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้เป็นเขตคลังน้ำมันเชื้อ เพลิงตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ถังท่อและอุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่รวมถึงสถานที่ใช้ในการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นวัตถุดิบใน กระบวนการผลิตในโรงกลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า วิศวกรของกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
การประกอบกิจการ
กฎหมายได้กำหนดให้การประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐ มี 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ได้แก่ กิจการที่สามารถประกอบการได้ทันที ตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการ
ประเภทที่ 2 ได้แก่ กิจการที่เพื่อจะประกอบการ ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน
ประเภทที่ 3 ได้แก่ กิจการที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนจึงจะประกอบการได้
ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้ในการประกอบกิจการ มี 3 ชนิด คือ
1. ชนิดไวไฟน้อย มีจุดวาบไฟตั้งแต่ 60 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น ฯลฯ
2. ชนิดไวไฟปานกลาง มีจุดวาบไฟระหว่าง 37.8-60 องศาเซลเซียส ได้แก่ น้ำมันก๊าด น้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องบิน ฯลฯ
3. ชนิดไวไฟมาก มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 37.8 องศาเซลเซียส ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ฯลฯ
ภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง มี 5 ประเภท คือ
1. ขวดน้ำมันเชื้อเพลิง ทำด้วยแก้ว ความจุ 0.5-1.0 ลิตร
2. กระป๋องน้ำมันเชื้อเพลิง ทำด้วยพลาสติกหรือเหล็กเคลือบดีบุก ความจุไม่เกิน 20 ลิตร
3. ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ทำด้วยพลาสติกหรือเหล็ก ความจุไม่เกิน 227 ลิตร
4. ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ทำด้วยเหล็ก ความจุเกินกว่า 227 ลิตร ขึ้นไป
5. ถังขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ทำด้วยเหล็ก อลูมิเนียมอัลลอยไม่จำกัดปริมาณ
สถานที่ประกอบกิจการควบคุม
คลังน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ ที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณเกิน 500,000 ลิตรขึ้นไป
สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง มี 3 ลักษณะ ดังนี้
(1) ลักษณะที่ 1 ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ( ร้านจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงรายย่อย ) ประกอบด้วย น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณไม่เกิน 40 ลิตร หรือชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณไม่เกิน 227 ลิตร หรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณไม่เกิน 454 ลิตร
(2) ลักษณะที่ 2 ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ( โรงงานขนาดเล็กหรือเพื่อการเกษตร ) ประกอบด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณเกิน 40 ลิตร แต่ไม่เกิน 454 ลิตร หรือชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณเกิน 227 ลิตร แต่ไม่เกิน 1,000 ลิตร หรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 454 ลิตร แต่ไม่เกิน 15,000 ลิตร
(3) ลักษณะที่ 3 ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ( โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ) ประกอบด้วย น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณเกิน 454 ลิตรขึ้นไป หรือชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณเกิน 1,000 ลิตรขึ้นไป หรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 15,000 ลิตรขึ้นไป แต่ปริมาณทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 ลิตร
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง แบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้
(1) ประเภท ก ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่ยานพาหนะทางบก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่ติดเขตทางหลวงถนนสาธารณะหรือถนนส่วนบุคคล ซึ่งมีขนาดความกว้างตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนดและเก็บน้ำมันเชื้อ เพลิงไว้ใน ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ( สถานีบริการติดถนนใหญ่)
(2) ประเภท ข ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงให้บริการแก่ยานพาหนะท งบก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ติดเขตถนนสาธารณะหรือถนนส่วนบุคคลที่มีความกว้าง ตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ( สถานีบริการติดถนนซอย )
(3) ประเภท ค มี 2 ลักษณะดังนี้
(3.1) ลักษณะที่ 1 ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่ยานพาหนะทางบกที่มีการเก็บ น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยมีปริมาณไม่เกิน 10,000 ลิตร และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน ( ปั้มถังลอยริมถนนขนาดเล็ก )
(3.2) ลักษณะที่ 2 ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่ยานพาหนะทางบกที่มีการเก็บ น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 10,000 ลิตรขึ้นไป และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน ( ปั้มถังลอยริมถนนขนาดใหญ่ )
(4) ประเภท ง ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยไว้ในถังน้ำมันเชื้อเพลิง ( ปั้มหลอดแก้วมือหมุน )
(5) ประเภท จ มี 2 ลักษณะ ดังนี้
(5.1) ลักษณะที่ 1 ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่เรือที่มีปริมารการเก็บน้ำมัน เชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณไม่เกิน 10,000 ลิตร และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน หรือถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็ก ( สถานีบริการทางน้ำขนาดเล็ก )
(5.2) ลักษณะที่ 2 ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่เรือที่มีปริมาณการเก็บน้ำมัน เชื้อ-เพลิงชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 10,000 ลิตร ขึ้นไป และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินหรือถัง เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็ก หรือเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อย ไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ( สถานีบริการทางน้ำขนาดใหญ่ )
(6) ประเภท ฉ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่อากาศยาน
ผู้ที่มีความประสงค์จะประกอบกิจการควบคุมทั้ง 3 ประเภท ตามกฎหมายใหม่คือ พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 จะสามารถตรวจสอบประเภทของกิจการควบคุม ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่จะมีไว้ในครอบครองในแต่ละ ประเภทได้จากตารางแสดงกิจการควบคุมประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 ดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 กิจการควบคุมประเภทที่ 1
(ประกอบกิจการได้ทันที)
สถานประกอบกิจการ น้ำมันเชื้อเพลิง |
ชนิด น้ำมันเชื้อเพลิง |
ภาชนะ บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง |
ปริมาณ น้ำมันเชื้อเพลิง |
สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่หนึ่ง (ร้านจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงรายย่อย) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
- ขวด, กระป๋อง - ขวด, กระป๋อง, ถัง - ขวด, กระป๋อง, ถัง, ถังเก็บ บน ดินขนาดเล็ก |
- ไม่เกิน 40 ลิตร หรือ - ไม่เกิน 227 ลิตร หรือ - ไม่เกิน 454 ลิตร ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด |
ตารางที่ 2 กิจการควบคุมประเภทที่ 2
(เมื่อจะประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน)
ลำดับ ที่ |
สถานประกอบกิจการ น้ำมันเชื้อเพลิง |
ชนิด น้ำมันเชื้อเพลิง |
ภาชนะบรรจุ น้ำมันเชื้อเพลิง |
ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง (ลิตร) |
1 |
สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่สอง (โรงงานขนาดเล็กหรือเพื่อการเกษตร) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
- ขวด, กระป๋อง, ถัง, ถังเก็บบนดินขนาดเล็ก - ขวด, กระป๋อง, ถัง, ถังเก็บบนดินขนาดเล็ก - ขวด, กระป๋อง, ถัง, ถังเก็บบนดินขนาดเล็ก, ถังเก็บบนดินขนาดใหญ่, ถังเก็บใต้พื้นดิน |
- เกิน 40 ลิตร แต่ไม่เกิน 454 ลิตร หรือ - เกิน 227 ลิตรแต่ไม่ เ กิน 1,000 ลิตร หรือ - เกิน 454 ลิตร แต่ไม่เกิน 15,000 ลิตร ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือ หลายชนิด |
2 |
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ค ลักษณะที่หนึ่ง (ปั้มถังลอยริมถนนขนาดเล็ก) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
- ถังเก็บบนดินขนาดใหญ่ - ถังเก็บบนดินขนาดใหญ่ |
(ห้ามเก็บ) รวมกันไม่เกิน 10,000 ลิตร |
3 |
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ง (ปั้มหลอดแก้วมือหมุน) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
- ถัง - ถัง - ถัง |
- ไม่เกิน 454 ลิตร - ไม่เกิน 454 ลิตร - ไม่เกิน 454 ลิตร |
4 |
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท จ ลักษณะที่หนึ่ง (สถานีบริการทางน้ำขนาดเล็ก) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
- ถังเก็บที่ติดตั้งภายในโป๊ะ เหล็ก,ถังเก็บบนดินขนาดใหญ่ |
(ห้ามเก็บ) 10,000 ลิตร |
ตารางที่ 3 กิจการควบคุมประเภทที่ 3
(ต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะประกอบการได้)
ลำดับ ที่ |
สถานประกอบกิจการ น้ำมันเชื้อเพลิง |
ชนิด น้ำมันเชื้อเพลิง |
ภาชนะบรรจุ น้ำมันเชื้อเพลิง |
ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง (ลิตร) |
1 |
สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่สาม (โรงงานขนาดใหญ่) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
- ขวด,กระป๋อง,ถัง, - ขวด, กระป๋อง,ถัง, ถังเก็บบนดินขนาดเล็ก ถังเก็บบนดินขนาดใหญ่, ถังเก็บใต้พื้นดิน |
- เกิน 454 ลิตรขึ้นไป หรือ - เกิน 1,000 ลิตรขึ้นไป หรือ - เกิน 15,000 ลิตรขึ้นไป แต่รวมกันไม่เกินกว่า 500,000 ลิตร |
2 |
คลังน้ำมันเชื้อเพลิง (สถานีเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเกิน 50,000 ลิตร) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
- ขวด, กระป๋อง,ถัง, ถังเก็บบนดินขนาดเล็ก ถังเก็บบนดินขนาดใหญ่, ถังเก็บใต้พื้นดิน |
รวมกันเกิน 500,000 ลิตร |
3 |
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ก (สถานีบริการติดถนนใหญ่) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
- ถังเก็บใต้พื้นดิน - ถังเก็บใต้พื้นดิน - ขวด, กระป๋อง,ถัง, ถังเก็บใต้พื้นดิน |
เก็บในพื้นที่ตาม พ.ร.บ. ผังเมือง ที่มีการกำหนด พื้นที่หนาแน่นมาก,ปาน กลางให้เก็บได้ไม่เกิน 180,000 ลิตร นอกเขตให้ เก็บได้ 360,000 ลิตร |
4 |
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ข (สถานีบริการติดถนนซอย) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
- ถังเก็บใต้พื้นดิน - ถังเก็บใต้พื้นดิน - ถังเก็บใต้พื้นดิน - ขวด, กระป๋อง,ถัง, |
- ไม่เกินกว่า 60,000 ลิตร - รวมกันไม่เกิน 20,000 ลิตร - ไม่มีข้อกำหนด |
5 |
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ค ลักษณะที่สอง (ปั้มถังลอยริมถนนขนาดใหญ่) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
- ถังเก็บบนดินขนาดใหญ่ |
(ห้ามเก็บ) - รวมกันเกินกว่า 10,000 ลิตร - แต่ไม่เกินกว่า 60,000 ลิตร
|
6 |
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ ลักษณะที่สอง (สถานีบริการทางน้ำขนาดใหญ่) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
- ถังเก็บบนดินขนาดใหญ่, ถังเก็บที่ติดตั้งภายในโป๊ะ เหล็ก |
(ห้ามเก็บ) - เก็บได้ถังละไม่เกิน 30,000 ลิตร และรวม กันไม่เกิน 60,000 ลิตร
|
7 |
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ฉ (สถานีบริการให้แก่อากาศยาน) |
ไวไฟมาก ไวไฟปานกลาง ไวไฟน้อย |
|
|
การแจ้งสำหรับการประกอบกิจการควบคุม
- ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ ธพ.น1
- การแจ้งให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ในเขตกรุงเทพมหานครให้แจ้ง ณ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
(2) ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งสำนักงานพลังงานภูมิภาค หรือสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งแล้วให้ออกใบรับแจ้งตามแบบ ธพ.น 2 กรณีนอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้รายงานให้กรมธุรกิจพลังงานทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ออกใบรับแจ้ง
- การแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ ธพ.น 1 ณ สถานที่แจ้งการประกอบกิจการควบคุมดังกล่าวข้างต้น
การอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการควบคุม
- ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแบบ ธพ.น3
- การยื่นคำขอรับใบอนุญาต ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
(2) ในเขตจังหวัดอื่นนอกกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานพลังงานภูมิภาค หรือ สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
- ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้เป็นไปตามแบบ ธพ.น4
- ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
- การออกใบอนุญาตให้แยกใบอนุญาตตามประเภทของการประกอบกิจการ
- หลักเกณฑ์วิธีการตรวจสอบและการพิจารณาออกใบอนุญาตควบคุมประเภทที่ 3 ให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด
- การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามแบบ ธพ.น5
- ใบอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบกิจการให้เป็นไปตามแบบ ธพ.น4
- กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารที่ใช้ประกอบกิจการ และประสงค์ให้ผู้อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นผู้ ออกใบอนุญาต ใบรับแจ้ง หรือใบรับรองการใช้อาคารควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการควบคุมประเภทที่ 3 ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมายว่า ด้วยการควบคุมอาคารต่อผู้อนุญาต ณ สถานที่ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
*****End of Article*****
ผู้ชม 7,249 วันที่ 12 กันยายน 2557