ความฉลาดทางอารมณ์ กับการบริหารจัดการงานบุคคล (จบ)
ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล
ในการบริหารจัดการงานบุคคลมักจะพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ EI ในหลายรูปแบบเช่น
1.พนักงานมีปัญหาขัดแย้งกันเอง บางครั้งขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา บางครั้งขัดแย้งกับผู้ร่วมงาน ส่วนมากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มาจากเรื่องเล็กๆ เช่น การไม่ยอมรับความคิดเห็น การคิดว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ สามารถจัดการได้ง่าย หากไม่ปล่อยให้เรื่องราวลุกลามใหญ่โตไปเสียก่อน ผู้ที่เป็นหัวหน้างาน ควรจะต้องหมั่นติดตามพฤติกรรมของลูกน้องให้ดีครับ
2.ไม่มีความขัดแย้ง แต่ร่วมงานกับเพื่อนไม่ได้ บางครั้งองค์กรได้คนเก่งมาทำงาน แต่ทนอยู่ได้ไม่นาน เพราะเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ เรื่องนี้ต้องให้ผู้บังคับบัญชา หมั่นติดตามความเป็นไปในแผนกของตนครับ การที่พนักงานเก่งๆ จะออกไปมักจะมีสัญญาณเตือนก่อนให้รับรู้ ถ้าเรารู้ทันและไม่อยากให้เขาออก การพูดคุยถึงปัญหาต่างๆ อย่างเปิดเผยน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด
3.ปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง บางครั้งถึงกับใช้อารมณ์ใส่กันก็เคยมี
4.การวางคนไม่ถูกกับงาน ถ้าไม่ใช่เกิดจากความตั้งใจให้เกิด หัวหน้างานก็ต้องทบทวนครับ ลองคนเราไม่ชอบงานที่ทำ คงทนทำอยู่ได้ไม่นานครับ แล้วจะทำให้พนักงานผู้นั้นแสดงพฤติกรรมต่อต้านองค์กรก็ได้
5.การนินทา การปล่อยข่าวลือไร้สาระ เรื่องนี้อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แล้วปล่อยไปนะครับ เคยมีบางองค์กร ต้องสูญเสียคนเก่งจากข่าวลือที่ไร้สาระเหล่านี้ไปแล้วมากต่อมาก ฯลฯ
แล้วจะแก้ไขอย่างไรครับ ผู้เขียนขอยืมแนวทางจากกรมสุขภาพจิตมาใช้ครับว่า
ความฉลาดทางอารมณ์ = ฉลาดคิด + ฉลาดพูด + ฉลาดทำ ฉลาดคิดคือ การคิดในแง่บวก (positive thinking) ลองคนเราคิดในแง่บวก กำลังใจจะมาเองครับ แต่ถ้าคิดแต่ในแง่ลบ จิตใจก็หดหู่ ห่อเหี่ยวแล้วจะทำงานให้ดีได้อย่างไรครับ
ฉลาดพูดคือ การพูดไม่ว่าร้ายตัวเรา และผู้อื่นคำพูดแม้จะจับต้องไม่ได้ แต่เป็นอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพ ในการทำร้ายตัวเรา และผู้อื่นมานักต่อนักแล้วครับ ถ้าคิดจะพูดต้องอย่าลืมว่า "ก่อนพูดเราเป็นนาย แต่หลังจากพูดไปแล้ว คำพูดเป็นนายเรา" ขอให้มีสติสักนิดก่อนจะพูดนะครับ
ฉลาดทำคือ การทำด้วยความเต็มใจสุดกำลังที่จะทำให้ดีกว่าเดิม ท่านพุทธทาสกล่าวว่า "ธรรมะคืองาน งานคือธรรมะ" เพราะฉะนั้นจะทำการสิ่งใดต้องทำให้ดีครับ
นอกจากนี้ สิ่งที่นักวิจัยหลายท่านไม่ค่อยได้กล่าวถึงคำว่า "บารมี" ซึ่งในสังคมไทยเป็นสังคมที่นิยมการประนีประนอม และความเกรงอกเกรงใจมากกว่า หลายเรื่องที่เป็นความขัดแย้งสามารถจบลงได้ด้วยดีด้วย
การไกล่เกลี่ยยอมความกันจากผู้ที่ตนเคารพนับถือ บารมีสร้างได้อย่างไร ? สร้างได้จากการวางตนที่เหมาะสมทั้งโอกาส และสถานะ ผ่านระยะเวลาหนึ่งที่เหมาะสม สิ่งสำคัญคนจะสร้างบารมีได้ ต้องมี EI สูงด้วยนะครับ
ลองดูนะครับ คิดง่ายๆ ทำง่ายๆ อย่างนี้น่าจะทำให้มี EI สูงขึ้นก็ได้นะครับ อย่าลืมนะครับ ก่อนจะไปบริหารจัดการผู้อื่นให้เริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อนครับ
อย่างไรก็ตาม ผมขอแนะนำว่าเราควรใช้ความฉลาดทางอารมณ์หลัก ๆ อยู่ 2 ตัว คือ
1.  Empathyการเอื้ออาทรมีน้ำใจ เอาใจ เราไปใส่ใจ เขา พูดง่ายๆคือ ถ้าเราเป็นเขา ณ เวลานั้นด้วยเงื่อนไขของเขาแบบนั้น เราจะรู้สึกอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร
2.  Conscientiousnessความมีคุณธรรมและยุติธรรม ยังหมายถึง ความมุ่งมั่นในการทำงานให้ได้ตามที่พูดด้วยครับ
EI ทั้งสองตัวสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการปัญหานี้ควบคู่กับการรักษากฎระเบียบของบริษัทได้ครับ ผู้อ่านอาจจะมีแนวคิดอื่นมาใช้ก็ได้นะครับ
นอกจากนี้ ในการบริหารจัดการงานบุคคลมักจะพบปัญหาการจัดการพนักงานที่เกี่ยวข้องกับ EI ในหลายรูปแบบต่างๆ เช่น 
1.           พนักงานมีปัญหาขัดแย้งกันเอง บางครั้งขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา บางครั้งขัดแย้งกับผู้ร่วมงาน ส่วนมากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาจากเรื่องเล็กๆ เช่น การไม่ยอมรับความคิดเห็น การคิดว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ง่ายหากไม่ปล่อยให้เรื่องราวลุกลามใหญ่โตไปเสียก่อน ผู้ที่เป็นหัวหน้างานควรจะต้องหมั่นติดตามพฤติกรรมของลูกน้องให้ดีครับ 
2.           ไม่มีความขัดแย้ง แต่ร่วมงานกับเพื่อนไม่ได้ บางครั้งองค์กรได้คนเก่งมาทำงาน แต่ทนอยู่ได้ไม่นานเพราะเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ เรื่องนี้ต้องให้ผู้บังคับบัญชาต้องหมั่นติดตามความเป็นไปในแผนกของตนครับ การที่พนักงานเก่งๆจะออกไปมักจะมีสัญญาณเตือนก่อนให้รับรู้ ถ้าเรารู้ทันและไม่อยากให้เขาออก การพูดคุยถึงปัญหาต่างๆอย่างเปิดเผยน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด 
3.           ปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง บางครั้งถึงกับใช้อารมณ์ใส่กันก็เคยมี 
4.           การวางคนไม่ถูกกับงาน ถ้าไม่ใช่เกิดจากความตั้งใจให้เกิด หัวหน้างานก็ต้องทบทวนครับ ลองคนเราไม่ชอบงานที่ทำ คงทนทำอยู่ได้ไม่นานครับ แล้วจะทำให้พนักงานผู้นั้นแสดงพฤติกรรมต่อต้านองค์กร ก็ได้ 
5.           การนินทา การปล่อยข่าวลือไร้สาระ เรื่องนี้อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆแล้วปล่อยไปนะครับ เคยมีบางองค์กรต้องสูญเสียคนเก่งจากข่าวลือที่ไร้สาระเหล่านี้ไปแล้วมากต่อมาก ฯลฯ
แล้วจะแก้ไขอย่างไรครับ ผู้เขียนขอยืมแนวทางจากกรมสุขภาพจิตมาใช้ครับว่า
ความฉลาดทางอารมณ์ = ฉลาดคิด + ฉลาดพูด + ฉลาดทำ
ฉลาดคิด คือ การคิดในแง่บวก (Positive thinking) ลองคนเราคิดในแง่บวก กำลังใจจะมาเองครับ แต่ถ้าคิดแต่ในแง่ลบ จิตใจก็หดหู่ ห่อเหี่ยวแล้วจะทำงานให้ดีได้อย่างไรครับ
ฉลาดพูด คือ การพูดไม่ว่าร้ายตัวเราและผู้อื่น คำพูดแม้จะจับต้องไม่ได้ แต่เป็นอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพในการทำร้ายตัวเราและผู้อื่นมานักต่อนักแล้วครับ ถ้าคิดจะพูดต้องอย่าลืมว่า ก่อนพูดเราเป็นนาย แต่หลังจากพูดไปแล้ว คำพูดเป็นนายเราขอให้มีสติสักนิดก่อนจะพูดนะครับ
ฉลาดทำ คือ การทำด้วยความเต็มใจสุดกำลังที่จะทำให้ดีกว่าเดิม ท่านพุทธทาสกล่าวว่า ธรรมะคืองาน งานคือธรรมะเพราะฉะนั้น จะทำการสิ่งใดต้องทำให้ดีครับ
นอกจากนี้ สิ่งที่นักวิจัยหลายท่านไม่ค่อยได้กล่าวถึงคำว่า บารมีซึ่งในสังคมไทยเป็นสังคมที่นิยมการประนีประนอม และความเกรงอกเกรงใจมากกว่า หลายเรื่องที่เป็นความขัดแย้ง สามารถจบลงได้ด้วยดีด้วยการไกล่เกลี่ยยอมความกันจากผู้ที่ตนเคารพนับถือ บารมีสร้างได้อย่างไร? สร้างได้จากการวางตนที่เหมาะสมทั้งโอกาสและสถานะ ผ่านระยะเวลาหนึ่งที่เหมาะสม สิ่งสำคัญ คนจะสร้างบารมีได้ ต้องมี EI สูงด้วยนะครับ
ลองดูนะครับ คิดง่ายๆทำง่ายๆอย่างนี้น่าจะทำให้มี EI สูงขึ้นก็ได้นะครับ อย่าลืมนะครับ ก่อนจะไปบริหารจัดการผู้อื่นให้เริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อนครับ
**********************

ผู้ชม 4,631 วันที่ 28 เมษายน 2553