การตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน

ตามประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒

 

ปิยะชัย  จันทรวงศ์ไพศาล

[email protected], [email protected]

 

ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ หมวด ๔ การตรวจติดตาม และประเมินการจัดการพลังงาน การทบทวน วิเคราะห์ และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน ส่วนที่ ๑ การตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน

 

 

 

 

() ให้คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานประชุมร่วมกับเจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุมเพื่อแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร โดยประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อยสองคนซึ่งมีความรู้และความเข้าใจในวิธีการจัดการพลังงาน มีความเป็นกลาง และเป็นอิสระในการดำเนินการ

() ให้เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมลงลายมือชื่อในคำสั่งแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กรและเผยแพร่ให้บุคลากรของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมทราบอย่างทั่วถึง

() คณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กรต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะในส่วนของข้อกำหนดดังต่อไปนี้

() การจัดตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน

() การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้นในกรณีที่นำวิธี การจัดการพลังงานมาใช้เป็นครั้งแรก

() การมีนโยบายอนุรักษ์พลังงานเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งลงลายมือชื่อ โดยเจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุมและการเผยแพร่นโยบายอนุรักษ์พลังงาน

() การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน

() การมีเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนการฝึกอบรมตลอดจนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

() การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน และการตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน

() การตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน

() การทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน

 

ดังนั้น สิ่งที่ควรปฏิบัติตามข้อนี้ ได้แก่

1.             ผู้บริหารระดับสูงของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมประกาศแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร โดยประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อยสองคนซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้

1.1     มีความรู้และความเข้าใจในวิธีการจัดการพลังงาน

1.2     มีความเป็นกลาง และเป็นอิสระในการดำเนินการ

ข้อนี้ ไม่ได้บอกว่าคณะผู้ตรวจประเมินจะต้องเป็นพนักงานหรือเป็นสมาชิกขององค์กรครับ ดังนั้น เราอาจจะใช้บริการจากผู้ตรวจภายนอกองค์กรได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนแนะนำให้ใช้บุคลากรภายในองค์กรจะเหมาะสมกว่านะครับ ส่วนความเป็นกลางและเป็นอิสระนั้น ก็คือต้องเป็นบุคลากรที่ไม่เกี่ยวข้องกับมาตรการใดๆด้านพลังงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่  หรือหน่วยงานของตนเองครับ เช่น ช่างซ่อมบำรุงจะตรวจหน่วยงานของฝ่ายซ่อมบำรุงที่รับผิดชอบด้านพลังงานอยู่ไม่ได้ครับ

2.             ติดประกาศเผยแพร่คำสั่งแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กรให้พนักงานรับทราบ

3.             คณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กรจะต้องจัดทำแผนตรวจประเมินภายใน อย่างน้อยมีกำหนดการตรวจประเมินปีละหนึ่งครั้ง มากกว่าไม่เป็นไร แต่น้อยกว่าไม่ได้ครับ  โดยบางกรณีเราอาจจะตรวจร่วมกับระบบอื่นๆก็ได้ เช่น ISO 14001 แต่ต้องคำนึงข้อกำหนดข้างต้นด้วยครับ

4.             ส่วนจะตรวจเรื่องอะไรเกี่ยวกับการจัดการพลังงานนั้น กฎหมายไม่ได้บอกรายละเอียด แต่ระบุว่าอย่างน้อยจะต้องตรวจเรื่องต่อไปนี้ ได้แก่

4.1    การจัดตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน

4.2    การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้นในกรณีที่นำวิธี การจัดการพลังงานมาใช้เป็นครั้งแรก

4.3    การมีนโยบายอนุรักษ์พลังงานเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งลงลายมือชื่อ โดยเจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุมและการเผยแพร่นโยบายอนุรักษ์พลังงาน

4.4    การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน

4.5    การมีเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนการฝึกอบรมตลอดจนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

4.6    การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน และการตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน

4.7    การตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน

4.8    การทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน

5.            จากข้อที่ 16 ของประกาศกระทรวงฯ ระบุต่อไปว่าให้คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมรวบรวมเอกสารและหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมและจัดส่งให้คณะผู้ตรวจประเมิน การจัดการพลังงานภายในองค์กรพูดตามประสาชาวบ้าน คือ ห้ามกั๊กข้อมูลไว้นั่นเองครับ

6.             ส่วนแนวทางการตรวจแบบไหน กฎหมายไม่ได้ระบุ อาจจะตรวจเอกสารหรือสัมภาษณ์ก็ได้ แต่ต้องมีการจดบันทึกเป็นหลักฐานและมีหลักฐานประกอบการตรวจ

7.             หากพบข้อใดที่ไม่เป็นตามกฎหมาย ผู้เขียนแนะนำให้ออก CAR (ใบคำร้องขอให้แก้ไข) เพื่อให้มีปฏิบัติการแก้ไขโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ว่า ให้มีเอกสารหลักฐานตามระบบการจัดการของเราครับ

8.             เมื่อตรวจประเมินเสร็จสิ้น จะต้องจัดทำสรุปผลการตรวจติดตามการดำเนินการจัดการพลังงานพร้อมลงลายมือชื่อโดยประธานคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร ส่งให้คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและเจ้าของโรงงานควบคุม หรือเจ้าของอาคารควบคุม

9.             ขั้นตอนสุดท้ายคือให้นำผลสรุปการตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงานที่คณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กรจัดทำขึ้นนั้น รวมเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการจัดการพลังงานซึ่งต้องจัดส่งให้แก่อธิบดีต่อไป

 

ผู้เขียนนำ Audit checklist ไปวางไว้ในหมวดทะเบียนกฎหมายและเอกสารอื่นๆที่น่าสนใจ ดังนั้นท่านสามารถเข้าไปดาวน์โหลดเอกสารการการตรวจติดตามภายในการดำเนินการจัดการพลังงาน ตามประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ ตาม link นี้ได้เลยครับ

http://www.pyccenter.com/images/file/20110211093322_file2.pdf

 

 

*****End of Article*****

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อ ๑๕ ให้เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมดำเนินการตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน โดยกระทำในลักษณะของการตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้

 

 

 

 

ผู้ชม 7,169 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554