Carbon Footprint (CF) คืออะไร

Carbon Footprint (CF: รอยเท้าคาร์บอน) หรือที่บางท่านเรียกว่า carbon profile (ข้อมูลรวมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซเรือนกระจก อื่นๆ อาทิ ก๊าซมีเทน ก๊าซหัวเราะ เป็นต้น ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ (ตามข้อกำหนด ISO 14040) ตลอดวัฏจักรชีวิต ทั้งนี้ แหล่งกำเนิดของก๊าซดังกล่าวมาจากกิจกรรมต่างๆ อาทิ การใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล กระบวนการในภาคอุตสาหกรรม กสิกรรม เป็นต้น *
 
 รอยเท้าคาร์บอน เป็น"การวัด"ผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเชิงปริมาณ โดยใช้ตัวบ่งชี้ โอกาสในการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential, GWP) ทั้งนี้องค์กร Intergovernmental Panel on Climate Change; IPCC ได้กำหนดค่า GWP ของก๊าซต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในระยะเวลาที่กำหนด อาทิ 20, 100, 500 ปี ทั้งนี้ โดยทั่วไปจะใช้ค่า GWP ของก๊าซเรือนกระจก ที่ระยะเวลา 100 ปี ดังแสดงในตารางด้านล่าง ( *เรียบเรียงจาก http://www.mtec.or.th )
 

Species
Chemical formula
GWP100
Carbon dioxide
CO2
1
Methane
CH4
21
Nitrous oxide
N2O
310
Hydrofluorocarbon
HFCs
140 – 11,700
Sulphur hexafluoride
SF6
23,900
Perfluorocarbon
PFCs
6,500 – 9,200

 
 
 
 
 
 
 
 
 
การตรวจวัด รอยเท้าคาร์บอน ทำได้อย่างไร ? **
ในการคำนวณนั้นจำเป็นต้องอาศัยหลักการของ Life Cycle Assessment ด้วยโดยต้องทำ Life Cycle Flow Chart และเก็บข้อมูลแต่ละขั้นตอนใน Flow Chart สำหรับข้อมูลที่เก็บแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ Primary Data คือเก็บข้อมูลเอง, Secondary Data สามารถใช้ได้จาก National Database ของประเทศ (ถ้ามี) และ Default Value คือจากสถาบันอื่นๆ หลังจากนั้นก็สามารถคำนวณได้จากสูตร:
CO2 equivalent of each process = Amount of activity x CO2 emission intensity
และรวมปริมาณ CO2e จากทุกกระบวนการ ก็จะได้ออกมาเป็น Carbon Footprint 
 
Thai National Life Cycle Inventory Database **
ถือได้ว่าการติดฉลาก Carbon Footprint นี้เป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเริ่มใช้ ISO14025 ที่คาดว่าจะออกมาประมาณเดือนพฤศจิกายน 2554 โดยจะบ่งบอกถึงผลกระทบต่อการสร้าง Carbon Footprint และแน่นอนว่ามีข้อได้เปรียบต่อการเจรจาต่อรองในเวทีโลกเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศ
ความก้าวหน้าของ LCI (Life Cycle Inventory), LCA (Life Cycle Assessment) และ CFP (Carbon Footprint) ของประเทศไทยนั้น เริ่มจากการสร้างคนให้มีความรู้ในเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2546 จนกระทั่งปัจจุบันได้มี Database ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกัน และสถานะของ Thai National LCI Database นี้อยู่ในกลุ่มแนวหน้าของโลกทีเดียว มีเพียง 4 ประเทศใน Asia เท่านั้นที่ดำเนินการในปัจจุบัน คือ ญี่ปุ่น, เกาหลี, ไทย, และมาเลเซีย ในปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายบริษัทที่ร่วมมือกันพัฒนา Opensource มีชื่อว่า Earthster ที่สามารถช่วยให้บริษัททั้งหลายสามารถเลือก Suppliers ที่ปล่อย CO2 น้อยกว่า หรือที่มีฉลาก Carbon Footprint หรือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งก็จะทำให้บริษัทต่างๆ เหล่านั้นสามารถที่จะอ้างถึงผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ในทุกกระบวนการที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ได้
สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญคือ การทำโครงการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือโครงการเกี่ยวกับ CO2 แบบโครงการฉลาก Carbon Footprint นี้เป็นกลยุทธ์ในการทำ CSR ได้อย่างมีการ Support เชิงเทคนิคระดับโลกทีเดียว และยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับกับระบบ ISO14025 ซึ่งคาดว่าน่าที่จะมีทุกอุตสาหกรรมรวมทั้งผลิตไฟฟ้าที่ต้องผ่านการประเมินฯ ในอนาคตด้วย  (** สรุปความจาก www.energythai.com)
 
*****End of Article*****
 

ผู้ชม 4,684 วันที่ 02 ธันวาคม 2553