รายละเอียดเว็บบอร์ด

หัวข้อ -> สมุดตรวจสุขภาพ
 
สมุดตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงานบริษัทต้องเก็บไว้หรือเปล่าครับ ในการทำระบบ OHSAS 18001 ขอคำชี้แนะด้วยครับ เพราะไม่เคยเก็บไว้เลย
 
ผู้ตั้ง : มหา วันที่ : 29 ต.ค. 53 08:59:51 น. ผู้ชม : 14,852
 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น : กรอกความคิดเห็นค่ะ
ชื่อผู้ตั้ง : กรอกชื่อผู้ตั้งค่ะ
กรอกรหัสป้องกัน
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 5
อยากทราบว่าการตรวจสุขภาพของพนักงาน 2547 ตาม ม.6 และ ม. 107 นั้น ตาม เนื้อหาสำคัญในข้อ 1 ต้องตรวจสุขภาพร่างกายอะไรบ้าง และข้อ 2 ด้วยครับ ท่านใดทราบช่วยแถลงให้ทราบด่วน........ขอบคุณครับ
 
ผู้ตั้ง : ณรงค์ฤทธิ์ กระแจะจันทร์ วันที่ : 23 พ.ค. 54 14:33:04 น.
 
ความคิดเห็นที่ 4
เก็บไว้ค่ะ เมื่อมีพนักงานลาออกก็จะต้องให้พนักงานติดตัวไปด้วยค่ะ
 
ผู้ตั้ง : ปลายฟ้า อินอิว วันที่ : 07 เม.ย. 54 18:47:28 น.
 
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบพระคุณมาก ๆครับ
 
ผู้ตั้ง : tj วันที่ : 02 พ.ย. 53 15:52:47 น.
 
ความคิดเห็นที่ 2
เราต้องทำความเข้าใจใหม่นะครับ เรื่องนี้ มีกฎหมาย 2 ฉบับเข้ามาเกี่ยวข้องครับ โดยสมุดสุขภาพประจำตัวพนักงาน ต้องจัดเก็บที่นายจ้างอย่างน้อย 2 ปี หลังพนักงานลาออกหรือสิ้นสุดการจ้าง รายละเอียด ผมอธิบายอยู่ในข้อ 7 แล้วครับ
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 31 ต.ค. 53 20:45:00 น.
 
ความคิดเห็นที่ 1
กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๖ ให้นายจ้างจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้นายจ้างบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างในสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างตามผลการตรวจของแพทย์ทุกครั้งที่มีการตรวจสุขภาพ <รูปแบบของสมดสุขภาพสำหรับข้อนี้ ให้เชื่อมโยงไปยังรูปแบบสมุดสุขภาพ ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง และแบบแจ้งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย การให้การรักษาพยาบาล และการป้องกันแก้ไข พ.ศ. ๒๕๕๑ .....ปิยะชัย > ข้อ ๗ ให้นายจ้างเก็บบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ ๓ รวมทั้งข้อมูลสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยให้เก็บไว้ ณ ที่ทำการของนายจ้างไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างแต่ละราย เว้นแต่มีการร้องทุกข์ว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับโรคหรืออันตรายอย่างใดต่อสุขภาพของลูกจ้าง แม้จะพ้นเวลาที่กำหนด ให้นายจ้างเก็บรักษาเอกสารนั้นไว้จนกว่าจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ มิให้นายจ้างนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางที่เป็นโทษแก่ลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร <สำหรับข้อนี้ ผมแนะนำให้จัดเก็บบันทึกผลการตรวจฯ 3 ปีนับตั้งแต่ลูกจ้างลาออกครับ แต่ถ้าเกิดการฟ้องร้อง ให้จัดเก็บจนกว่าคดีจะสิ้นสุดครับ .....ปิยะชัย> ข้อ ๘ ให้นายจ้างแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้แก่ลูกจ้าง ดังนี้ <ข้อนี้ จป.ควรจัดทำบันทึกหรือแบบฟอร์มให้ลูกจ้างเซ็นต์รับผลการตรวจด้วยครับ .....ปิยะชัย> (๑) กรณีผลการตรวจสุขภาพผิดปกติ ให้แจ้งแก่ลูกจ้างผู้นั้น ภายในระยะเวลาสามวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ (๒) กรณีผลการตรวจสุขภาพปกติ ให้แจ้งแก่ลูกจ้างผู้นั้นภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ ข้อ ๙ ในกรณีที่พบความผิดปกติของลูกจ้าง หรือลูกจ้างมีอาการหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที และทำการตรวจสอบหรือหาสาเหตุของความผิดปกติเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ให้นายจ้างส่งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย การให้ การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย ข้อ ๑๐ ถ้าลูกจ้างผู้ใดมีหลักฐานทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของราชการหรือที่ราชการยอมรับ แสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้แก่ลูกจ้างผู้นั้นตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างเป็นสำคัญ <การเปลี่ยนงานให้เหมาะสม จป.ควรพิจารณาจากผลการตรวจด้วย เช่น ผลการตรวจเลือด CBC พบว่าเม็ดเลือดแดงผิดปกติ อาจจะมาจากโรคเลือด โรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) ก็ได้ .....ปิยะชัย> ข้อ ๑๑ ให้นายจ้างมอบสมุดสุขภาพประจำตัวให้แก่ลูกจ้างเมื่อสิ้นสุดการจ้าง <ข้อนี้ จป.ควรจัดทำบันทึกหรือแบบฟอร์มให้ลูกจ้างเซ็นต์รับผลการตรวจด้วยครับ .....ปิยะชัย>
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 31 ต.ค. 53 20:42:44 น.