รายละเอียดเว็บบอร์ด

หัวข้อ -> ชี้แนะผมด้วยครับ...
 
คือว่า ทางบริษัท จะส่งผมไปอบรมเรื่อง บุคลากรเฉพาะที่รับผิดชอบดูแลสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (กฎหมายของกรมธุรกิจพลังงาน) อยากทราบว่า ถ้าไปอบรม ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวของบริษัทที่ทำงานอยู่ หลังจากนั้นถ้าผมจะลาออกจากบริษัท ผมจะต้องทำอย่างไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และถ้าไปทำงานที่ใหม่สามารถใช้เลขทะเบียนตรงนี้ได้หรือไม่ และเลขทะเบียนนี้สามารถใช้ได้กี่บริษัทครับ....ขอบคุณครับ
 
ผู้ตั้ง : พีรวุฒิ แจ่มจรูญ วันที่ : 26 มิ.ย. 55 09:33:25 น. ผู้ชม : 14,560
 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น : กรอกความคิดเห็นค่ะ
ชื่อผู้ตั้ง : กรอกชื่อผู้ตั้งค่ะ
กรอกรหัสป้องกัน
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3
สอบถามค่ะ
หากว่าบริษัทเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ ต้องแจ้งเรื่องไปทาง
กรมธุกิจพลังงานหรือไม่คะ หรือว่ารอให้บัตรประจำตัวบุคลากรเฉพาะหมดอายุ
 
ผู้ตั้ง : kat วันที่ : 28 ต.ค. 58 14:41:07 น.
 
ความคิดเห็นที่ 2
ในประเด็นของการบริหารงานบุคคลนั้น หากท่านทราบอยู่แล้วว่าจะลาออกไปทำงานที่อื่นอย่างแน่นอนก็ควรหลีกเลี่ยงไม่ขอรับการฝึกอบรมครับจะดีกว่านะครับ เพราะอาจจะมีปัญหาตามมาภายหลังได้ครับ ซึ่งมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2552 เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า “จำเลยที่ 1 ทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งนักบิน หากจำเลยที่ 1 ไม่ผ่านการฝึกอบรมตามสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศจำเลยที่ 1 จะไม่สามารถทำหน้าที่ขับเครื่องบินที่โจทก์นำมาใช้ในสายการบินของโจทก์ได้ การฝึกอบรมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีคุณวุฒิเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นที่ต้องการของบริษัทอื่น ข้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์มิฉะนั้นต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนและเสียเบี้ยปรับจึงเป็นข้อห้ามที่มีลักษณะเพื่อปกป้องกิจการของโจทก์ไม่ให้สูญเสียพนักงานเป็นข้อตกลงที่สามารถกระทำได้ ทั้งจำเลยที่ 1 สามารถจะเลือกได้ว่าจะกลับมาทำงานกับโจทก์หรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนให้โจทก์พร้อมทั้งเสียเบี้ยปรับ 3 เท่าของจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้คืน ข้อกำหนดเบี้ยปรับ 3 เท่า ดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ แต่โจทก์ส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมเพียง 14 วัน โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไว้ 300,000 บาท และโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 ไปเพียง 223,871.70 บาท ข้อกำหนดที่ให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์กำหนดเป็นเวลาถึง 3 ปี เป็นการทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติศาลฎีกาให้ผลบังคับได้เพียง 1 ปี เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี”
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 26 มิ.ย. 55 21:17:06 น.
 
ความคิดเห็นที่ 1
จากประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ การฝึกอบรมเรื่องก๊าซปิโตรเลียมเหลว การระวังและการป้องกันอันตรายของบุคลากรเฉพาะที่รับผิดชอบดูแลสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๕๔
ผมขอย้ำเตือนว่าให้องค์กรที่ประสงค์จะส่งพนักงานไปฝึกอบรมควรตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ให้บริการฝึกอบรม โดยเฉพาะตามรายละเอียดข้างล่างนี้

ข้อ ๘ ผู้ฝึกอบรมต้องได้รับหนังสือรับรองจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายก่อน จึงจะเริ่มดำเนินกิจการฝึกอบรมได้
ข้อ ๙ นิติบุคคลภาคเอกชนที่ประสงค์จะประกอบกิจการผู้ฝึกอบรม ให้ยื่นคำขอหนังสือรับรองให้เป็นผู้ฝึกอบรมตามแบบ ธพ.กฝ.๑ ต่อกรมธุรกิจพลังงาน และเมื่อได้ตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติถูกต้องตามประกาศนี้แล้ว อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายจะออกหนังสือรับรองให้ตามแบบ ธพ.กฝ.๒

เมื่อตรวจสอบแล้วว่าไม่มีปัญหาจึงค่อยไปฝึกอบรมครับ หากสอบผ่านก็จะได้รับหนังสือรับรองเป็นบุคลากรเฉพาะ พร้อมทั้งให้ยื่นเอกสารหลักฐานตามแบบธพ.กฝ.๗ ต่อผู้ฝึกอบรม.ให้การรับรอง เพื่อนำไปยื่นต่อกรมธุรกิจพลังงานออกบัตรประจำตัวบุคลากรเฉพาะต่อไป ซึ่งจะมีอายุ ๕ ปี หากบุคลากรเฉพาะประสงค์จะยื่นขอต่ออายุ บัตรประจำตัวบุคลากรเฉพาะ ให้ยื่นตามแบบ ธพ.กฝ.๘ ต่อผู้ฝึกอบรมหรือกรมธุรกิจพลังงาน ก่อนบัตรประจำตัวบุคลากรเฉพาะนั้นสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๓๐ วันตามข้อ ๑๕

อย่างไรก็ตามประกาศนี้ข้อ ๑๖ ระบุว่า ผู้ที่ได้รับบัตรประจำตัวหรือหนังสือรับรองว่าเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการ
ทำงานวิชาชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานผู้ควบคุมดูแลตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และพนักงานบรรจุก๊าซตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ให้ถือว่าเป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เข้ารับการฝึกอบรมและสอบผ่านตามประกาศนี้ผู้ที่ได้รับบัตรประจำตัวหรือหนังสือรับรองตามกฎหมายอื่น ให้ยื่นบัตรประจำตัวหรือหนังสือรับรองตามกฎหมายอื่น พร้อมทั้งหลักสูตรต่อกรมธุรกิจพลังงาน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่าเป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เข้ารับการฝึกอบรมและสอบผ่านตามประกาศนี้เช่นกัน แต่เมื่อพิจารณาตามแบบธพ.กฝ.๗ จะมีช่องให้ผู้ให้การฝึกอบรมลงนามรับรองด้วย กรณีเช่นนี้ เจ้าหน้าที่กรมฯไม่ได้บอกชัดเจนว่าจะทำอย่างไร ดังนั้น จึงต้องยื่นหลักฐานรับรองคุณสมบัติดังกล่าวประกอบเพิ่มเติม ผมแนะนำให้ติดต่อไปโดยตรงที่กรมฯครับ เพื่อให้ออกบัตรประจำตัว แต่หากพิจารณาด้านความปลอดภัยแล้วผมยังเห็นว่าควรจะเข้ารับการฝึกอบรมจะเหมาะสมกว่าครับ

เนื่องจากประกาศนี้ไม่ได้กำหนดว่า หากมีการเปลี่ยนงานย้ายที่ทำงาน จะต้องดำเนินการอย่างไร แต่จากเนื้อหาหลักสูตรและเจตนารมณ์ตามกฎหมาย บัตรประจำตัวบุคลากรเฉพาะดังกล่าวเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ติดตัวไปของผู้เข้ารับการอบรมครับ หากจะย้ายงานก็ไม่เป็นไรครับ เพราะบัตรประจำตัวยังคงมีอายุ ๕ ปี แต่ควรทำหนังสือแจ้งไปยังกรมฯเพื่อเปลี่ยนสถานที่ทำงานครับ
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 26 มิ.ย. 55 21:15:31 น.