รายละเอียดเว็บบอร์ด

หัวข้อ -> สอบถาม
 
1.ในกรณีที่ผ่านการทดลองงานไปแล้วแต่อายุงานไม่ครบ 1 ปี บริษัทให้ออกจากงานบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่
2.ในกรณีที่ตกลงทำสัญญาทดลองงานกับนายจ้าง 119 วัน แต่ทำงานไม่ได้แค่ 30 วัน ลูกจ้างออกจากงานโดยที่ไม่ได้บอกนายจ้างหรือแค่โทรบอกนั้นได้หรือไม่
3.หญิงมีครรณ์ทำงานให้นายจ้างซึ่งผ่านทดลองงานไปแล้วแต่อายุงานไม่ถึง 1 ปี นั้นลูกจ้างขอย้ายการทำงานไปในส่วนที่เบาหน่อยได้หรือไม่
4.สืบเนื่องจากข้อ 3 ถ้าหากนายจ้างไม่ยอมจะได้ออกจากงานอย่างเดียวนี้ได้หรือไม่อย่างไร

ช่วยแนะนำผมด้วยครับ ขอบคุณครับ
 
ผู้ตั้ง : Ae_qmr วันที่ : 09 ธ.ค. 54 17:40:58 น. ผู้ชม : 15,177
 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น : กรอกความคิดเห็นค่ะ
ชื่อผู้ตั้ง : กรอกชื่อผู้ตั้งค่ะ
กรอกรหัสป้องกัน
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4
4.สืบเนื่องจากข้อ 3 ถ้าหากนายจ้างไม่ยอมจะได้ออกจากงานอย่างเดียวนี้ได้หรือไม่อย่างไร
มาตรา 42 ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์ เลิกจ้างคนงานหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ตามบทบัญญัตินี้ เพราะถ้าหากมีการเลิกจ้างคนงานหญิงระหว่างที่ตั้งครรภแล้ว ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อแม่และเด็ก ในด้านของการขาดรายได้ดำรงชีพและในด้านจิตใจ
คน งานหญิงที่ตั้งครรภ์จึงได้รับสิทธิการคุ้มครองพิเศษที่ห้ามนายจ้างเลิกจ้าง คนงานหญิงเพราะเหตุมาจากการตั้งครรภ์ แต่กฎหมายแรงงาน ไม่ได้ห้ามนายจ้างเลิกจ้างคนงานหญิงที่ตั้งครรภ์ในเหตุผลอื่น หรือในกรณีที่คนงานหญิงที่ตั้งครรภ์ได้กระทำความผิดเช่น กระทำความผิดทุจริตต่อหน้าที่ ขาดงานติดต่อกันสามวันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย กระทำความผิดซ้ำใบเตือน ฯลฯ (ดูมาตรา 119 กรณีการจ่ายเงินค่าชดเชย ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 )
ด้วย เหตุนี้หากคนงานหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ได้กระทำความผิดอื่นใดตามมาตรา 119 พรบ.คุ้มครองแรงงาน นี้แล้ว หากนายจ้างเลิกจ้างคนงานหญิงที่ตั้งครรภ์ สามารถแจ้งกับพนักงานตรวจแรงงาน ณ แรงงานจังหวัดได้เลยครับ
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 12 ธ.ค. 54 10:52:17 น.
 
ความคิดเห็นที่ 3
3.หญิงมีครรณ์ทำงานให้นายจ้างซึ่งผ่านทดลองงานไปแล้วแต่อายุงานไม่ถึง 1 ปี นั้นลูกจ้างขอย้ายการทำงานไปในส่วนที่เบาหน่อยได้หรือไม่
ประเด็นนี้ ไม่เกี่ยวกับการผ่านทดลองงานหรือไม่ผ่าน เพราะสถานะของความเป็นลูกจ้างย่อมเกิดขึ้น ณ วันแรกที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้ามาในสถานประกอบกิจการแล้วครับ ดังนั้นลูกจ้างหญิงมีครรภ์ย่อมได้รับสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายครับ
มาตรา 39 ห้าม มิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 น.ถึงเวลา 06.00 น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานวันหยุด หรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

• งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
• งานขับเคลื่อนที่ติดไปกับยานพาหนะ
• งานยกแบกหาม ทูน ลากหรือเข็นของหนักเกินสิบห้ากิโลกรัม
• งานที่ทำในเรือ
• งานที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรานี้มีความชัดเจนอยู่แล้วว่ามีเจตนาจะคุ้มครองสุขภาพของหญิงมีครรภ์ไม่ไห้ได้รับผลกระทบ จากสภาพการทำงาน เช่นห้ามทำงานกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน ห้ามทำงานในเวลาอันผิดปกติเช่นช่วงเวลากลางคืน หรือห้ามทำงานยาวนานชั่วโมง จึงกำหนดห้ามไม่ให้ทำงานล่วงเวลา ห้ามให้ทำงานในวันหยุด ก็เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์นั้นมีเวลาพักผ่อนนั่นเอง รวมทั้งกำหนดประเภทและสถานที่ที่ห้ามทำงานไว้อีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และเด็กนั่นเอง

ส่วน การห้ามทำงานล่วงเวลานั้นจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของพนักงาน ดังนั้นสหภาพแรงงานจึงมักจะเรียกร้องให้นายจ้างนั้นจ่ายเงินช่วยเหลือการ ครองชีพให้กับคนงานหญิงที่ตั้งครรรภ์เป็นการชดเชยจากรายได้พิเศษในการทำงาน ล่วงเวลา ส่วนที่ไม่มีสหภาพแรงงานอาจใช้วิธีการพูดคุยกับนายจ้าง

มาตรา 40 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงทำงานระหว่างเวลา 24.00 น. ถึงเวลา 6.00 น. และ พนักงานตรวจแรงงานเห็นว่างานนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของ หญิงนั้น ให้พนักงานตรวจแรงงานรายงานต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เพื่อพิพจารณาและมีคำสั่งให้นายจ้างเปลี่ยนเวลาการทำงานหรือลดชั่วโมงการทำ งานได้ตามที่เห็นสมควรและให้นายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว

บท บัญญัติในมาตรานี้ก็เพื่อคุ้มครองคนงานหญิงที่ทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งอันที่จริงนายจ้างควรที่จะจัดหามอบหมายงานใหม่ในชั่วโมงการทำงานในเวลา กลางวัน เพราะมีบทบัญญัติห้ามอยู่แล้วในมาตรา 39 ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่เคยทำงานในช่วงเวลากลางคืนดังกล่าวจึงต้องรีบไปแจ้ง ให้พนักงานตรวจแรงงานให้ออกคำสั่งเพื่อให้นายจ้างมอบหมายงานใหม่ให้ทำซึ่ง เป็นช่วงเวลากลางวัน

มาตรา 41 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน เก้าสิบวัน

บท บัญญัติมาตรานี้ให้สิทธิหญิงมีครรภ์ลาคลอดบุตรได้เป็นเวลา 90 วันหรือสามเดือน โดยให้นับรวมเอาวันหยุดต่างๆไปด้วยกัน และยังบัญญัติในเรื่องการจ่ายค่าจ้างไว้ด้วยว่า ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเต็มเป็นเวลา 45 วัน (มาตรา 59) ส่วนค่าจ้างอีก 45 วันที่เหลือนั้นหญิงตั้งครรภ์สามารถไปขอประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 12 ธ.ค. 54 10:51:56 น.
 
ความคิดเห็นที่ 2
2.ในกรณีที่ตกลงทำสัญญาทดลองงานกับนายจ้าง 119 วัน แต่ทำงานไม่ได้แค่ 30 วัน ลูกจ้างออกจากงานโดยที่ไม่ได้บอกนายจ้างหรือแค่โทรบอกนั้นได้หรือไม่
กรณีนี้ ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง แต่ถ้าลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างเอง ย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ์เรียกร้องค่าชดเชย
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 12 ธ.ค. 54 10:51:25 น.
 
ความคิดเห็นที่ 1
ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนครับว่า ผมไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงาน แม้ว่าจะจบนิติศาสตร์มาก็ตาม ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ไปปรึกษารายละเอียดกับพนักงานตรวจแรงงานประจำจังหวัด จะได้รับความกระจ่างและข้อแนะนำที่ดีกว่าครับ
1.ในกรณีที่ผ่านการทดลองงานไปแล้วแต่อายุงานไม่ครบ 1 ปี บริษัทให้ออกจากงานบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
การเลิกจ้างต้องทำเป็นหนังสือและบอกกล่าวล่วงหน้า ก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด
มาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน
ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้
มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
ค่าชดเชยคือ เงิน ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงิน ประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลง จ่ายให้แก่ลูกจ้างค่าชดเชยจึงเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่จ่ายตามกฏหมายคุ้ม ครอแรงงานเมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง ถ้านายจ้างมิได้เลิกจ้างลูกจ้าง แต่ลูกจ้างลาออกจากงานไปทิ้งงานไปหรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ดังนั้นในการที่จะดูว่าลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย หรือไม่ต้องดูรายละเอียด ดังต่อไปนี้
การจ่ายค่าชดเชยนาย จ้างต้องชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้าง โดยคำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย หรือคำนวณจาก ค่าจ้างของการ ทำงานระยะเวลาสุดท้ายสำหรับกรณีที่ลูกจ้างนั้น ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ เป็นหน่วยโดยจ่ายตามระยะเวลา ที่ลูกจ้างทำงานดังต่อไปนี้
• ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 30 วัน
• ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 90 วัน
• ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 180 วัน
• ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 240 วัน
• ทำงานครบ 10 ปีขึ้นไป จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 300 วัน (มาตรา 118)
ค่าชดเชยต้องจ่ายทันที่เมื่อเลิกจ้าง หากไม่จ่ายถือว่าผิดนัด และต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่ต้องทวงถาม (ฎีกาที่ 1017/2524, 2476/2537) สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมรดก ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว (ฎีกาที่ 1269/2524) สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยมีอายุความ 10 ปี (ฎีกาที่ 2859/2525)

การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำ ได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของ นายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของ งาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

นายจ้างเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะลูกจ้างกระทำความผิด

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบ ด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 12 ธ.ค. 54 10:50:58 น.