รายละเอียดเว็บบอร์ด

หัวข้อ -> การจัดทำทะเบียนกฎหมาย
 
สอบถาม เรื่อง พ.ร.บ.โรงงาน ต่างจาก พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างไร
 
ผู้ตั้ง : envi วันที่ : 18 มิ.ย. 53 09:58:30 น. ผู้ชม : 14,787
 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น : กรอกความคิดเห็นค่ะ
ชื่อผู้ตั้ง : กรอกชื่อผู้ตั้งค่ะ
กรอกรหัสป้องกัน
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 14
อาจารย์ครับขอตัวอย่างทะเบียนกฏหมาย iso 14001+OHSAS 18001
ขอบคุณครับ
[email protected] ด้วยคน ขอบคุณครับ
 
ผู้ตั้ง : ประยงค์ แก้วสง่า วันที่ : 11 มี.ค. 58 14:23:47 น.
 
ความคิดเห็นที่ 13
อาจารย์ครับขอตัวอย่างทะเบียนกฏหมาย iso 14001+OHSAS 18001
ขอบคุณครับ
[email protected]
 
ผู้ตั้ง : pranom วันที่ : 12 ก.พ. 57 08:24:41 น.
 
ความคิดเห็นที่ 12
ขอบคุณสำหับข้อมูลที่ดีและเป็นประโยชน์อย่างมาก
 
ผู้ตั้ง : นายประณม วันที่ : 12 ธ.ค. 56 08:03:22 น.
 
ความคิดเห็นที่ 11
ขอบคุณมากค่ะมีประโยชน์ในการทำงานมากค่ะ
 
ผู้ตั้ง : น.ส.ศรีไพร แย้มศิริ วันที่ : 06 มิ.ย. 56 18:30:45 น.
 
ความคิดเห็นที่ 10
ขอบคุณสำหรับควบรู้ดีดี ครับ
 
ผู้ตั้ง : ภัทรพล ประเสริฐสังข์ วันที่ : 29 ม.ค. 56 16:12:43 น.
 
ความคิดเห็นที่ 9
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ
 
ผู้ตั้ง : tidarat manit วันที่ : 28 มี.ค. 54 14:41:16 น.
 
ความคิดเห็นที่ 8
ขออนุญาตนะคะ ด้วยความคิดถึง คุณสุวัฒนา
 
ผู้ตั้ง : อรสา วันที่ : 15 มี.ค. 54 13:24:02 น.
 
ความคิดเห็นที่ 7
Excellence ka
 
ผู้ตั้ง : สุวัฒนา ทองนพเนื้อ วันที่ : 08 มี.ค. 54 22:34:35 น.
 
ความคิดเห็นที่ 6
ท่านจะต้องสมัครเป็นสมาชิกให้ถูกต้อง ชัดเจนก่อนครับ จึงจะสามารถโหลดทะเบียนได้ครับ ไม่มีค่าสมัครสมาชิกแต่อย่างใด แต่รบกวนให้กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ชัดเจนด้วยครับ
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 21 ก.พ. 54 11:41:24 น.
 
ความคิดเห็นที่ 5
Download ไม่ได้เลยครับ ทำให้ไม่สามารถศึกษารูปแบบได้ ยังไงช่วยบอกวิ๊ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
 
ผู้ตั้ง : tawatchai วันที่ : 13 ธ.ค. 53 11:02:57 น.
 
ความคิดเห็นที่ 4
ผมนำตัวอย่างทะเบียนกฎหมายสิ่งแวดล้อมวางไว้ในหมวด Download > ทะเบียนกฎหมายและเอกสารอื่นที่น่าสนใจ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษารูปแบบได้ครับ อาจจะเป็นประโยชน์บ้างครับ
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 26 ก.ย. 53 22:58:32 น.
 
ความคิดเห็นที่ 3
โดยสรุปก็คือ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อการควบคุมการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งตามบทเฉพาะกาลของกฎหมายดังกล่าวได้นำประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๒๕ พ.ศ. ๒๕๓๑ และประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๓๑ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๑๒ มาใช้บังคับ โดยภายใต้กฎหมายดังกล่าวได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม โดยทำการเก็บรวบรวมและกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุไม่ใช้แล้วซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารไวไฟ สารกัดกร่อน สารเกิดปฏิกิริยาได้ง่าย และสารมีพิษ เช่น สารหนู แคดเมียม โครเมียม ตะกั่ว และปรอท นอกจากนี้ยังระบุชื่อของสารตัวทำลาย และประเภทของวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่จะต้องมีการเก็บ ทำลายฤทธิ์ กำจัด ฝัง ทิ้ง เคลื่อนย้ายตามวิธีที่กำหนดไว้ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อควบคุมการนำเข้า ส่งออก การผลิต การจำหน่าย การครอบครอง การขนส่ง และการใช้สารอันตรายซึ่งได้มีการแบ่งออกเป็น ๔ ชนิด ตามความจำเป็นแก่การควบคุมและให้มีการตั้งศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายขึ้นในกระทรวงอุตสาหกรรม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นกฎหมายหลักในการดูแลสภาวะแวดล้อมของประเทศ โดยให้มีการควบคุมภาวะมลพิษการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจะได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้ ดังนั้น กฎหมายทั้งสองฉบับมีศักดิ์เทียบเท่ากัน แต่มีวัตถุประสงค์ต่างกันเป็นบางเรื่อง และเหมือนกันในการควบคุมและส่งเสริมรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมครับ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ ถ้าคุณเป็นโรงงานต้องทำ EIA ก็ต้องทำก่อน เพื่อจะขออนุญาตตั้งโรงงาน อำนาจในการอนุญาตตั้งโรงงานเป็นของกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่ใช่กระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมครับ
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 19 มิ.ย. 53 19:23:12 น.
 
ความคิดเห็นที่ 2
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 “พระราชบัญญัติโรงงานเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมและกำกับดูแลการประกอบกิจการโรงงานตั้งแต่การตั้งโรงงาน การเริ่มต้นการประกอบกิจการโรงงานจนถึงการเลิกการประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมโรงงานและด้านความปลอดภัยภายในโรงงาน” ลำดับชั้นของกฎหมายภายใต้ พ.ร.บ. โรงงาน พ.ร.บ. โรงงาน  กฎกระทรวง  ประกาศกระทรวง  ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม จำพวกโรงงาน
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 19 มิ.ย. 53 19:22:38 น.
 
ความคิดเห็นที่ 1
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจในลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทยก่อนครับ ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่ 1. รัฐธรรมนูญ 2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3. พระราชบัญญัติ 4. พระราชกำหนด 5. พระราชกฤษฎีกา 6. กฎกระทรวง 7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดศักดิ์ของกฎหมายมีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่าง ๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูงกว่านั้นมิได้ และอาจถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ผลการจัดศักดิ์ของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร 1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้ 2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย 3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น
 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 19 มิ.ย. 53 19:21:27 น.